วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของผักในหลุมเมนูต้มยำกุ้ง


เห็ดฟาง
เห็ดฟาง
สำหรับเห็ดฟางนั้นเรียกได้ว่าเป็นเห็ดยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารในหลากหลายเมนูที่มักจะมีเห็ดฟางเป็นส่วนประกอบอยู่อย่างแพร่หลาย และเห็ดฟางนี้ยังสามารถหาซื้อมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ง่ายตามท้องตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ โดยมีทั้งเห็ดฟางแบบสด และบรรจุกระป๋อง หรืออบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเห็ดฟางนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของเห็ดฟาง
สำหรับเห็ดฟางนั้นเป็นเห็ดที่มีดอกตูมก้อนกลมสีขาวเนื้อแน่นละเอียด แต่เดิมมักเรียกว่าเห็ดบัว เนื่องจากมักขึ้นตามเปลือกเมล็ดบัวที่กะเทาะเมล็ด แต่ภายหลังเริ่มมีการเพาะปลูกอย่างจริงจังโดยใช้ฟางในการเพาะเห็ด จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเห็ดฟาง โดยเห็ดฟางนั้นจะมีเยื่อหุ้มกระเปาะลักษณะคล้ายๆ กับถ้วยรองรับฐานเห็ดอยู่ เมื่อหมวกเห็ดเจริญขึ้นจะแผ่กางออกเป็นลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับร่ม โดยบริเวณด้านบนของหมวกเห็ดเป็นสีเทาอาจอ่อนหรือเข้มก็ได้ และมีผิวค่อนข้างเรียบ รวมทั้งมีขนละเอียดขึ้นปกคุลมอยู่จางๆ ส่วนบริเวณด้านล่างของหมวกเห็ดนี้จะมีครีบบางๆ อยู่ และมีก้านดอกเป็นสีขาวละมุน

สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ดฟาง
- ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้นกันโรคให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง เนื่องจากมีวิตามินซีอยู่สูง
- ช่วยในการสมานผิวทำให้แผลหายเร็วขึ้น และลดอาการติดเชื้อต่างๆ
- ช่วยลดอาการปวดบวมของเหงือกและฟัน
- ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง หรือผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นการยับยั้งและชะลอการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็งร้าย
- ช่วยลดหรือบรรเทาอาการช้ำใน หรือปวดบวมในร่างกาย
- ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง เป็นการทำให้ระบบการทำงานของตับและร่างกายเกิดความสมดุล
ที่มา..http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87/

ข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า

ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา
ข่า ข่า
ประโยชน์และสรรพคุณของข่า
ใบ – ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อยบริเวณข้อต่างๆ และช่วยในการฆ่าพยาธิ ให้รสเผ็ดร้อน
ดอก – ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อน
ผล – ช่วยแก้อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด หรือท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ให้รสเผ็ดร้อนฉุน
หน่อ – ช่วยในการบำรุงธาตุไฟ และแก้ลมแน่นหน้าอก ให้รสเผ็ดร้อนหวาน
เหง้า – ใช้ตำกับมะขามเปียกและเกลือให้สตรีรับประทานหลังคลอด ช่วยขับเลือดคาวปลา แก้อาการตกเลือด หรือขับรก นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือจุกเสียดแน่น ช่วยขับลมให้กระจาย แก้พิษ แก้บิด แก้อาการฟกช้ำ แก้ลมป่วง แก้สันนิบาตหน้าเพลิง และแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อนขม
ต้นแก่ – ใช้ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ หรือข้อ และแก้ตะคริว ให้รสเผ็ดร้อนซ่า
ราก – ช่วยแก้อาการเหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต และช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ให้รสเผ็ดร้อนปร่า
ที่มา..http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2/

ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัด จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้

  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก) 
ที่มา http://frynn.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/

infographic ต้มยำกุ้ง

infographic ต้มยำกุ้ง

วิธีทำ ต้มยำกุ้ง

วิธีทำ
    1. ก่อนอื่นต้องแกะเปลือกกุ้งผ่าเอาเส้นดำออกล้างให้สะอาด หั่นเครื่องต้มยำ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและเห็ด ให้พร้อม

     2. นำน้ำซุปไปตั้งไฟให้เดือด ใส่เครื่องต้มยำลงไปให้หมด ให้เดือดอีกครั้งก็ใสกุ้งที่เตรียมไว้ลงไปเลย
หลังจากใส่กุ้งลงไปแล้ว ให้ใส่ น้ำตาล น้ำปลา พริกขี้หนู พริกเผา ใครชอบรสแบบไหนใส่ลงไปตามชอบ ตามด้วยเห็ดฟาง

     3. ปิดเตาแล้วค่อยปรุงด้วยมะนาว(เคล็ดลับการบีบน้ำมะนาวใส่ในน้ำที่กำลังเดือดทำให้มะนาวข่มได้) โรยเกลือนิดหน่อยเพื่อดึงรสเปรี้ยวหวานเค้มให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น


     4.  จัดชามเสิร์ฟ หั่นผักโรยหน้า เพิ่มความหอม


แหล่งที่มา http://food.mthai.com/food-recipe/88943.html

ส่วนประกอบต้มยำกุ้ง

เมนู ต้มยำกุ้ง

เมนู ต้มยำกุ้งน้ำข้น

           ต้มยำกุ้ง ต้มยำกุ้งน้ำข้น เมนูอาหารไทย ที่ดังไกลไปทั่วโลก ด้วยสีสันที่ชวนรับประทาน กับรสชาติที่ลงตัวทั้งเปรี้ยวเค็มเผ็ด และยังมีเครื่องต้มยำ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สมุนไพรที่ช่วยดับกลิ่นคาว เพิ่มกลิ่นหอม พร้อมทั้งมีสรรพคุณทางยา เมนูต้มยำกุ้งอร่อยๆ จึงเป็นเมนูที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จากรสชาติอันดุเดือดเผ็ดแซบ และเปรี้ยวจี๊ด มาอย่างยาวนานทีเดียว แต่เมนูต้มยำกุ้งน้ำใสๆ เราก็เปลี่ยนให้เป็นต้มยำกุ้งน้ำข้น ที่มีรสชาติดุเดือดแต่กลมกล่อมได้ไม่ยาก ใครยังไม่เคยทำต้มยำกุ้งน้ำข้นทานเอง อย่าพลาดค่ะ
       อาหารไทยนอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว อาหารไทยส่วนมากยังเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางยา ที่แฝงอยู่ในสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร เป็นภูมิปัญญาอันสุดยอดของคุณทวดจริงๆ อย่างในเมนูต้มยำกุ้งนี้ มีข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ซึ่งช่วยขับลม และช่วยให้เจริญอาหาร
         หรือเมนูแกงเขียวหวานที่ใส่มะเขือพวง ซึ่งมะเขือพวงที่ใส่ลงไปที่หลายๆคนคิดว่าเป็นแค่ผักประดับนั้น และเขี่ยทิ้งกันเป็นประจำ ความจริงมะเขือพวงจะช่วยดูดซับไขมัน และช่วยย่อยอาหารด้วยค่ะเพราะแกงเขียวหวานเป็นแกงกะทิ ทีมีความมันและย่อยยาก คนไทยยุคเก่าๆ รุ่นคุณทวดนี่สุดยอดจริงๆเลยใช่มั้ยคะ
วัตถุดิบ/เครื่องปรุง ต้มยำกุ้ง
เราเลือกใช้กุ้งทะเลสดๆ แทนที่จะเป็นกุ้งก้ามกราม ที่มีมันกุ้งเยอะกว่า เพราะเราชอบรสชาติของกุ้งทะเลมากกว่าค่ะ วันนี้จึงเป็นกุ้งแชบ๊วย

กุ้งแชบ๊วย
จัดการปอกเปลือกกุ้ง ให้เหลือแต่หัว ช่วงหนวดตัดสั้น เอาขี้กุ้งออก และเก็บหางกุ้งไว้ เพื่อให้ดูน่าทานค่ะ

จับแก้ผ้าค่ะ
ใบมะกรูด ขาดไม่ได้เลยนะคะ สำหรับเมนูต้มยำของเรา

ใบมะกรูด
ผักชีสำหรับโรยหน้าให้สวยงาม และดูน่ารับประทานค่ะ

ผักชีโรยหน้า
เห็ดฟาง น่าจะเข้ากันได้ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าใครไม่ค่อยชอบ และอยากจะเปลี่ยนเป็นเห็ดนางฟ้าก็ได้นะคะ แต่เรารู้สึกว่าเห็ดนางฟ้า เหมาะกับเมนูต้มข่ามากกว่าค่ะ

เห็ดฟาง
น้ำพริกเผา น้ำมะนาวที่ใส่พริกตำเอาไว้ พริกจะได้ไม่ดำค่ะ และวัตถุดิบสำหรับต้มยำน้ำข้นๆ คือนมสดค่ะ

น้ำพริกเผา น้ำมะนาวใส่พริก และนมสด
และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย ได้แก่ข่าและตะไคร้ค่ะ

แหล่งที่มา