วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของผักในหลุมเมนูต้มยำกุ้ง


เห็ดฟาง
เห็ดฟาง
สำหรับเห็ดฟางนั้นเรียกได้ว่าเป็นเห็ดยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารในหลากหลายเมนูที่มักจะมีเห็ดฟางเป็นส่วนประกอบอยู่อย่างแพร่หลาย และเห็ดฟางนี้ยังสามารถหาซื้อมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ง่ายตามท้องตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ โดยมีทั้งเห็ดฟางแบบสด และบรรจุกระป๋อง หรืออบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเห็ดฟางนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของเห็ดฟาง
สำหรับเห็ดฟางนั้นเป็นเห็ดที่มีดอกตูมก้อนกลมสีขาวเนื้อแน่นละเอียด แต่เดิมมักเรียกว่าเห็ดบัว เนื่องจากมักขึ้นตามเปลือกเมล็ดบัวที่กะเทาะเมล็ด แต่ภายหลังเริ่มมีการเพาะปลูกอย่างจริงจังโดยใช้ฟางในการเพาะเห็ด จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเห็ดฟาง โดยเห็ดฟางนั้นจะมีเยื่อหุ้มกระเปาะลักษณะคล้ายๆ กับถ้วยรองรับฐานเห็ดอยู่ เมื่อหมวกเห็ดเจริญขึ้นจะแผ่กางออกเป็นลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับร่ม โดยบริเวณด้านบนของหมวกเห็ดเป็นสีเทาอาจอ่อนหรือเข้มก็ได้ และมีผิวค่อนข้างเรียบ รวมทั้งมีขนละเอียดขึ้นปกคุลมอยู่จางๆ ส่วนบริเวณด้านล่างของหมวกเห็ดนี้จะมีครีบบางๆ อยู่ และมีก้านดอกเป็นสีขาวละมุน

สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ดฟาง
- ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้นกันโรคให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง เนื่องจากมีวิตามินซีอยู่สูง
- ช่วยในการสมานผิวทำให้แผลหายเร็วขึ้น และลดอาการติดเชื้อต่างๆ
- ช่วยลดอาการปวดบวมของเหงือกและฟัน
- ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง หรือผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นการยับยั้งและชะลอการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็งร้าย
- ช่วยลดหรือบรรเทาอาการช้ำใน หรือปวดบวมในร่างกาย
- ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง เป็นการทำให้ระบบการทำงานของตับและร่างกายเกิดความสมดุล
ที่มา..http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87/

ข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า

ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา
ข่า ข่า
ประโยชน์และสรรพคุณของข่า
ใบ – ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อยบริเวณข้อต่างๆ และช่วยในการฆ่าพยาธิ ให้รสเผ็ดร้อน
ดอก – ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อน
ผล – ช่วยแก้อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด หรือท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ให้รสเผ็ดร้อนฉุน
หน่อ – ช่วยในการบำรุงธาตุไฟ และแก้ลมแน่นหน้าอก ให้รสเผ็ดร้อนหวาน
เหง้า – ใช้ตำกับมะขามเปียกและเกลือให้สตรีรับประทานหลังคลอด ช่วยขับเลือดคาวปลา แก้อาการตกเลือด หรือขับรก นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือจุกเสียดแน่น ช่วยขับลมให้กระจาย แก้พิษ แก้บิด แก้อาการฟกช้ำ แก้ลมป่วง แก้สันนิบาตหน้าเพลิง และแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อนขม
ต้นแก่ – ใช้ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ หรือข้อ และแก้ตะคริว ให้รสเผ็ดร้อนซ่า
ราก – ช่วยแก้อาการเหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต และช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ให้รสเผ็ดร้อนปร่า
ที่มา..http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2/

ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัด จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้

  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก) 
ที่มา http://frynn.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น